History of England

ประเทศอังกฤษ
                                                   
                          อังกฤษเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ภูมิภาคที่ปัจจุบันคืออังกฤษภายในสหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีอันเดอร์ธอลราว 230,000 ปีมาแล้ว ขณะที่มนุษย์โฮโมเซเพียนซึ่งเป็นมนุษย์สมัยใหม่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 29,000 ปีมาแล้ว แต่การอยู่ต่อเนื่องกันโดยตลอดเริ่มขึ้นราว 11,000 ปีมาแล้วในปลายยุคน้ำแข็ง ในบริเวณภูมิภาคนี้ยังมีร่องรอยของมนุษย์สมัยต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เริ่มตั้งแต่ยุคหินกลาง, ยุคหินใหม่ และ ยุคสัมริด เช่นสโตนเฮนจ์ และเนินดินที่เอฟบรี ในยุคเหล็กอังกฤษก็เช่นเดียวกับบริเตนทั้งหมดทางใต้ของเฟิร์ธออฟฟอร์ธเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์ที่เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า บริเตน (Briton) หรือเผ่าเบลแจ ในปี ค.ศ. 43 ชาวโรมันก็เริ่มเข้ามารุกรานบริเตน โรมันปกครองจังหวัดบริทายามาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5
           ชาวบริตันและโรมัน การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์
         บันทึกเกี่ยวกับหมู่เกาะบริเทนมีขึ้นครั้งแรกโดยพ่อค้าชาวกรีกโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล พีธีแอสแห่งมาสซิเลีย (Pytheas of Massiia) นักสำรวจชาวกรีกมาเยือนเกาะอังกฤษใน 325 ปีก่อนค.ศ. พลีนีผู้พ่อ (Pliny the Elder) นักสำรวจชาวโรมันกล่าวว่าเกาะอังกฤษเป็นแหล่งดีบุกสำคัญ ทาซิตุส (Tacitus) ชาวโรมันเป็นคนแรกที่กล่าวถึงชาวบริตัน (Britons) ทีอาศัยบนหมู่เกาะบริเตน ว่าไม่มีความแตกต่างกับชาวโกล (Gaul) ในฝรั่งเศส (คือเป็นชาวเคลท์เหมือนกัน) ในด้านรูปร่างหน้าตาขนาดร่างกายจูเลียส ซีซาร์พยายามจะพิชิตอังกฤษในปีที่ 55 และ 54 ก.ค.ศ. แต่ไม่สำเร็จ จนจักรพรรดิคลอดิอุส ส่งทัพมาพิชิตอังกฤษในค.ศ. 43 ชาวโรมันปกครองทั้งอังกฤษ เวลส์ เลยไปถึงสกอตแลนด์ ตั้งเมืองสำคัญต่างๆ เช่น ลอนดอน แต่ชาวโรมันทนการรุกรานของเผ่าเยอรมันต่างๆไม่ไหว ถอนกำลังออกไปในค.ศ. 410 ชาวแองโกล ชาวแซกซัน และชาวจูทส์ มาปักหลักตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ ต่อสู้กับชาวบริตันเดิม ผลักให้ถอยร่มไปทางตะวันตกและเหนือ

       อาณาจักรต่างๆในศตวรรษที่ 8
ในตอนแรกเผ่าต่างๆในอังกฤษกระจัดกระจาย จนรวบรวมเป็นเจ็ดอาณาจักร (Heptarchy) ที่ประกอบด้วย นอร์ทธัมเบรีย, เมอร์เซีย, อีสต์แองเกลีย, เอสเซ็กซ์, เค้นท์, ซัสเซ็กซ์ และ เวสเซ็กซ์ คริสต์ศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในอังกฤษในประมาณค.ศ. 600 โดยนักบุญออกัสตินแห่งแคนเตอร์บรี อาณาจักรเมอร์เซีย เรืองอำนาจตลอดศตวรรษที่ 8 ในสมัยพระเจ้าเพนดา พระเจ้าแอเธลเบิร์ต และพระเจ้าออฟฟา แห่งเมอร์เซีย จนเวสเซ็กซ์ขึ้นมามีอำนาจแทน
ชาวไวกิง หรือที่ชาวอังกฤษเรียกว่าเดนส์ (Danes) โจมตีอังกฤษครั้งแรกที่ลินดิสฟาร์น ตามพงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน แต่การคุกคามของชาวไวกิงน่าจะมีอยู่ก่อนหน้าแล้ว เพราะชาวไวกิงตั้งออร์คนีย์ทางตอนเหนือของสกอตแลนด์ ในปี ค.ศ. 865 ชาวไวกิ้งจากเดนมาร์กยกทัพป่าเถื่อนอันยิ่งใหญ่ (Great Heathen Army) มาบุกอังกฤษ ยึดอาณาจักรนอร์ทธัมเบรียใน ค.ศ. 866 อาณาจักรอีสต์แองเกลียใน ค.ศ. 870 และอาณาจักรเมอร์เซียใน ค.ศ. 871 แต่พระเจ้าอัลเฟรดมหาราชทรงสามารถเอาชนะไวกิงได้ในปี ค.ศ. 878 แบ่งอังกฤษระหว่างแองโกล-แซกซอน และไวกิง ดินแดนของไวกิงในอังกฤษเรียกว่า เดนลอว์ชาวไวกิงก็หลั่งไหลมาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโอรสของอัลเฟรดมหาราช คือ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสทรงต่อสู้เพื่อขับไล่พวกไวกิงให้พ้นจากอังกฤษ พระโอรส คือ พระเจ้าเอเธลสตันพระเจ้าอเธลสตาน (Athelstan) รวมอาณาจักรเมอร์เซีย (ที่หลงเหลือ) กับอาณาจักรเวสเซ็กซ์ ต่อมาพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบทรงยึดนอร์ทธัมเบรียจากเดนส์ และขับไล่ไวกิงออกไปได้ เป็นการรวมอังกฤษเป็นครั้งแรก
เมื่อองค์ชายเจมส์ครองบัลลังก์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ก็ทรงต้องเผชิญกับกบฎหลายครั้ง ในค.ศ. 1687 พระเจ้าเจมส์ทรงออกกฎหมายการใช้พระราชอำนาจขัดขวางการกดขี่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และในค.ศ. 1688 เจ้าชายเจมส์พระโอรสที่เป็นคาทอลิกก็ประสูติ ทำให้ชาวอังกฤษกลัวว่าราชวงศ์คาทอลิกจะปกครองประเทศ จึงอัญเชิญพระสวามีขององค์หญิงแมรีพระธิดาพระเจ้าเจมส์ คือ เจ้าชายวิลล์เฮมแห่งออเรนจ์ ผู้ครองฮอลันดา มาบุกอังกฤษ พระเจ้าเจมส์ทรงหลบหนีไปฝรั่งเศส เจ้าหญิงแมรีและเจ้าชายแห่งออเรนจ์ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชินีนาถแมรีที่ 2 และพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 เรียกเหตุการณ์นี้ว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์
รัฐสภาออกกฎหมายห้ามมิให้พวกคาทอลิกขึ้นบัลลังก์อังกฤษ พระเจ้าเจมส์ทรงไปไอร์แลนด์ที่เป็นคาทอลิกเพื่อระดมพลมาสู้ แต่พระเจ้าวิลเลียมก็เอาชนะพระองค์ได้ที่บอยน์ (Boyne) ทำให้พระเจ้าเจมส์หนีกลับไปฝรั่งเศส ในค.ศ. 1689 รัฐสภาออกพระราชบัญญัติสิทธิ (Bill of Rights) ริดรอนพระราชอำนาจมิให้ทรงขัดขวางการออกกฎหมายหรือใช้พระราชทรัพย์และกำลังพลตามพระทัย ทำให้กษัตริย์อังกฤษทรงตกอยู่ภายใต้อำนาจรัฐสภามาถึงทุกวันนี้ พระเจ้าวิลเลียมทรงเกลียดชังฝรั่งเศสตั้งแต่ยังทรงครองฮอลันดา ทำให้ทรงนำอังกฤษเข้าร่วมสงครามมหาสัมพันธมิตร (War of the Grand Alliance) ในสกอตแลนด์เกิดกบฎจาโคไบต์ (Jacobite Rebellion) เพื่อนำพระเจ้าเจมส์กลับสู่บัลลังก์ ทำให้พระเจ้าวิลเลียมทรงนำทัพเข้าปราบปราม โดยเฉพาะการสังหารหมู่ที่เกลนโค (Massacre of Glencoe) สังหารชาวสกอตอย่างโหดร้าย

บนภาคพื้นทวีปทัพอังกฤษและฮอลันดาพ่ายแพ้ฝรั่งเศส และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังทรงสนับสนุนพระเจ้าเจมส์อีกด้วย แต่ในค.ศ. 1697 พระเจ้าหลุยส์ทรงยอมรับพระเจ้าวิลเลียม เพื่อให้ได้ดินแดนตอบแทน ในค.ศ. 1700 พระเจ้าวิลเลียมทรงให้ใช้ลอนดอนเป็นที่หารือว่าสเปน (ราชวงศ์แฮปสบูร์กสิ้นสุด) จะตกเป็นของใคร แต่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งสเปน ก่อนสิ้นพระชนม์ยกสเปนและดินแดนอื่นๆทั้งหมดให้พระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งสเปน พระนัดดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทำให้ชาติต่างๆรวมทั้งอังกฤษ ทำสงครามสืบราชสมบัติสเปน (War of the Spanish Succession)การสืบราชสมบัติอังกฤษก็สำคัญไม่แพ้กัน ทรงมอบบัลลังก์ให้องค์หญิงแอนน์ พระขนิษฐาของพระนางแมรี และออกพระราชบัญญัติการสืบราชสมบัติ (Act of Settlement) ในค.ศ. 1701 ว่าหากราชวงศ์โปรเตสแตนต์สิ้นไป ให้พระนางโซฟี ภริยาของอิเลกเตอร์แห่งแฮนโนเวอร์ (Sophie, Electress of Hannover) ในเยอรมนี พระนัดดาของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ครองบัลลังก์อังกฤษ
        ราชวงศ์ฮาโนเวอร์ - สมัยจอร์เจียน
พระเจ้าจอร์จที่ 1 (ค.ศ. 1714 ถึง ค.ศ. 1727)
ในค.ศ. 1715 พวกวิกชนะการเลือกตั้ง ออกพระราชบัญญัติเจ็ดปี (Septennial Act) ให้รัฐสภามีอายุอย่างน้อยเจ็ดปี เป็นรากฐานให้พวกวิกมีอำนาจไปอีก 50 ปี แต่องค์ชายเจมส์ เอ็ดวาร์ด สจ๊วต (James Edward Stuart) หรือ The Old Pretender พระโอรสของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เป็นราชวงศ์สจ๊วตที่เป็นคาทอลิกที่กยึดบัลลังก์ไปในเหตุการณ์การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ มาทวงบัลลังก์เรียกว่า กบฎจาโคไบต์ (Jacobite) พวกโทรีแอบไปเข้าพวกจาโคไบต์ พระเจ้าจอร์จทรงมีความขัดแย้งกับพระโอรส คือ จอร์จ ออกุสตุส เจ้าชายแห่งเวลส์ (George Augustus, Prince of Wales) ในค.ศ. 1717 พระเจ้าจอร์จทรงนำอังกฤษเข้าสงครามจตุรสัมพันธมิตร (War of the Quadraple Alliance) เพื่อทำสงครามกับสเปน สเปนจึงสนับสนุนกบฎจาโคไบต์ แต่ไม่สำเร็จ
ในค.ศ. 1719 บริษัทเซาธ์ซีเสนอรัฐสภาว่าจะแบกรับภาระการใช้หนี้พันธบัตรจากรัฐบาล โดยขอความปลอดภัยของหุ้นเป็นการแลกเปลี่ยน บริษัทเซาธ์ซีเสนอให้เจ้าของพันธบัตรต่างๆ เปลี่ยนพันธบัตรเป็นหุ้น ทำให้ราคาพันธบัตรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รัฐสภาต้องออกพระราชบัญญัติห้ามการแลกเปลี่ยน ผลคือการซื้อขายพันธบัตรกลายเป็นตลาดใต้ดิน เมื่อหาซื้อกันได้ง่ายๆ ราคาจึงตกวูบ บรรดาขุนนางก็ขาดทุนกันมหาศาล เรียกว่า เหตุการณ์ฟองสบู่แตกเซาธ์ซี
พระเจ้าจอร์จที่ 2 (ค.ศ. 1727 ถึง ค.ศ. 1760)
เจ้าชายแห่งเวลส์ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจอร์จที่ 2 เช่นเดียวกับพระบิดา พระเจ้าจอร์จที่ 2 ทรงมีความขัดแย้งกับพระโอรสคือเฟรเดอริค เจ้าชายแห่งเวลส์ (Frederick, Prince of Wales) ในรัชสมัยของพระองค์ เซอร์ โรเบิร์ต วาลโพล (Sir Robert Walpole) มีอำนาจมากจนได้ชื่อว่าเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนแรก พระเจ้าจอร์จทรงนำอังกฤษเข้าสงครามหูของเจงกินส์ (War of Jenkin's Ear) กับสเปน และสงครามสืบราชสมบัติออสเตรีย (War of the Austrian Succession) เมื่อพระเจ้าฟรีดรีชมหาราชแห่งปรัสเซีย (ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าจอร์จ) ต้องการจะแย่งบัลลังก์ออสเตรีย พระเจ้าจอร์จก็ทรงนำทัพไปปกป้องแคว้นแฮนโนเวอร์
แต่ฝรั่งเศสก็ปลุกปั่นกบฎจาโคไบต์ในสกอตแลนด์ในค.ศ. 1745 นำโดยองค์ชายชาร์ลส์ เอ็ดวาร์ด สจ๊วต (Charles Edward Stuart) หรือบอนนี่ ปริ้นซ์ ชาร์ลี (Bonnie Prince Charlie) หรือ The Young Pretender เป็นพระโอรสของ The Old Pretender นำทัพสกอตบุกอังกฤษ พระเจ้าจอร์จทรงส่งพระโอรสคือ องค์ชายวิลเลียม ออกุสตุส (William Augustus) หรือดยุคแห่งคัมเบอร์แลนด์ (Duke of Cumberland) ไปปราบองค์ชายชาร์ลส์ในการรบที่คัลโลเดน (Culloden) เป็นสงครามครั้งสุดท้ายบนหมู่เกาะบริเทน ตลอดไป ในค.ศ. 1757 โรเบิร์ต ไคลฟ์ (Robert Clive) ยึดแคว้นเบงกอลในอินเดีย เป็นจุดเริ่มตันของการยึดครองอินเดียของบริเตน
พระเจ้าจอร์จที่ 3 (ค.ศ. 1760 ถึง ค.ศ. 1801)
ปลายศตวรรษที่ 18 เป็ยสมัยแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในบริเตน

บริเตนทำสงครามกับฝรั่งเศสตามอาณานิคมต่างๆทั่วโลก ขุนพลวอล์ฟ (Wolfe) ชนะทัพฝรั่งเศสในการรบที่ที่ราบอับราฮัม (Plains of Abraham) ฝรั่งเศสยึดเกาะมินอร์กา แต่บริเตนยึดเซเนกัล ในค.ศ. 1758 วอล์ฟนำบริเตนยึดเมืองคิวเบก เมืองหลวงของอาณานิคมฝรั่งเศสได้ ในค.ศ. 1763 สนธิสัญญาปารีส ยกแคนาดาของฝรั่งเศสทั้งหมดให้บริเตน และได้ฟลอริดาจากสเปน ทำให้อาณานิคมของบริเตนในอเมริกาแผ่ขยายมหาศาล จอร์จ เกรนวิลล์ (George Grenville) หัวหน้าพวกวิกเป็นนายกรัฐมนตรี ออกพระราชบัญญัติอ้างเขตดินแดน (Royal Proclaimation) ในอาณานิคมเพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างอาณานิคมกับที่ดินของชาวพื้นเมือง เพื่อหยุดสงครามกับชาวพื้นเมือง
ในค.ศ. 1765 เกรนวิลล์ออกพระราชบัญญัติสแตมป์ (Stamp Act) เพื่อให้ติดสแตมป์อากรในเอกสารราชการทุกอย่างของบริเตนในอาณานิคม ทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจอย่างมาก พระเจ้าจอร์จจึงทรงปลดเกรนวิลล์และทรงตั้งวิลเลียม พิตต์ผู้พ่อ (William Pitt the Elder) ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งเป็นเอิร์ลแห่งเชตแฮม (Earl of Chetham) ถอนพระราชบัญญัติสแตมป์ ทำให้ชาวอเมริกาสร้างอนุสาวรีย์ให้ทั้งพระเจ้าจอร์จและเชตแฮม
เอิร์ลแห่งเชตแฮมล้มป่วย ทำให้พวกโทรีขึ้นมามีอำนาจนำโดยลอร์ดนอร์ธ (Lord North) ลอร์ดนอร์ธยกเลิกภาษีทุกประการเพื่อเอาใจชาวอเมริกา แต่ยกเว้นภาษีชา เพื่อรักษาพระเดชานุภาพในการเก็บภาษี ในค.ศ. 1773 เกิดเหตุการณ์งานเลี้ยงน้ำชาบอสตัน (Boston Tea Party) โยนชาทิ้งทะเล ทำให้ลอร์ดนอร์ธออกพระราชบัญญัติลงฑัณฑ์ (Punitive Act) ปิดท่าเรือบอสตันและยกเลิกเสรีภาพของอาณานิคมอ่าวแมซซาชูเซตต์ (Massachusette Bay) ชาวอเมริกาก็ยิ่งลุกฮืออีก เกิดเป็นการปฏิวัติอเมริกา (American Revolution) สงครามจึงเริ่มในค.ศ. 1775 ในค.ศ. 1776 ปีต่อมาอาณานิคมจึงประกาศเอกราชเป็นสหรัฐอเมริกา (United States of America) บริเตนพ่ายแพ้ทัพอาณานิคมที่ซาราโทกา (Saratoga) ในค.ศ. 1778 ฝรั่งเศสเห็นโอกาสจึงเข้าฝ่ายอาณานิคม ในค.ศ. 1781 บริเตนเข้ายึดเมืองยอร์คทาวน์ (Yorktown) ไม่สำเร็จ พระเจ้าจอร์จจึงทรงยอมรับความพ่ายแพ้ สนธิสัญญาปารีสในค.ศ. 1783 ทำให้อังกฤษสูญเสียอาณานิคมสิบสามรัฐในอเมริกา กลายเป็นสหรัฐอเมริกา และยกฟลอริดาให้สเปน เหลือแต่แคนาดาที่ยังเป็นของบริเตน


ก่อตั้งสหราชอาณาจักร
ในค.ศ. 1789 เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ระบอบกษัตริย์ถูกลบล้าง และกำลังแผ่ขยายอำนาจ บริเตนเข้าสงครามกับฝรั่งเศสในสัมพันธมิตรครั้งที่ 1 (First Coalition) กับชาติอื่นๆในยุโรป ในค.ศ. 1793 แต่พ่ายแพ้ในค.ศ. 1798 การขยายอำนาจของนโปเลียนทำให้ชาติต่างๆเข้าร่วมสัมพันธมิตรครั้งที่ 2 (Second Coalition) อีกครั้งแต่สัมพันธมิตรก็พ่ายแพ้ในค.ศ. 1800 เหลือเพียงบริเตนที่ยังคงทำสงครามกับฝรั่งเศส

สงครามที่วุ่นวายทำให้ไอร์แลนด์ฉวยโอกาสก่อกบฎ วิลเลียม พิตต์จึงออกพระราชบัญญัติสหภาพค.ศ. 1800 ผนวกไอร์แลนด์เข้ากับบริเตน เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (United Kingdom of Great Britain and Ireland)